Industry Of The Future Industrial มาดูกัน “หม้อแปลงแรงดัน” สำคัญอย่างไร

มาดูกัน “หม้อแปลงแรงดัน” สำคัญอย่างไร


หม้อแปลงแรงดัน

            ก่อนจะไปค้นหาว่าหม้อแปลงแรงดันสำคัญอย่างไร สิ่งที่เราควรทำความรู้จักกันไว้ก่อนคือ “แรงดันไฟฟ้า” เพราะถ้าไม่มีแรงดัน หม้อแปลงก็คงไม่ได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์

แรงดันไฟฟ้าคืออะไร

แรงดันไฟฟ้าคือแรงกระทำต่ออิเล็กตรอนที่ทำให้เกิดการไหลไปตามตัวนำไฟฟ้า เช่น สายไฟ มีหน่วยเป็น โวลต์ (V: Voltage) หรือถ้าอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือแรงที่ผลักดันให้ไฟฟ้าวิ่งไปตามสายไฟและเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ นั่นเอง ซึ่งถ้าไม่มีแรงดันเกิดขึ้น ไฟฟ้าก็จะไม่สามารถเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ ได้ และถ้าแรงดันไม่เหมาะสม เช่น แรงดันสูงเกินไป น้อยเกินไป หรือทำงานผิดปกติ ก็จะทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้นต่อทั้งร่างกายและทรัพย์สินได้ เช่น

  • ไฟฟ้าดูด (Electric Shock) หรือการที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย แล้วร่างกายไปสัมผัสส่วนที่มีแรงดันไฟฟ้าต่างกัน 2 จุด ทำให้เกิดการดูด ซึ่งความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับแรงดันไฟฟ้าขณะสัมผัส อาจทำให้เจ็บแปลบ มีรอยแดง หมดสติ หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • ไฟฟ้าลัดวงจร (Short Circuit) เกิดจากการสัมผัสระหว่างสายไฟฟ้ากับสายไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้า หรือการสัมผัสระหว่างสายไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้ากับสายดิน หรือการที่แรงดันไฟฟ้าเกินขนาดที่สายไฟรับไหว ทำให้สายไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดเสียหาย และอาจรุนแรงจนเกิดไฟไหม้ตามมาได้

ซึ่งเหตุการณ์ร้ายแรงเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น หากในทุกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน โรงงาน โรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ มีหม้อแปลงแรงดันติดตั้งไว้

หม้อแปลงแรงดันผู้ช่วยสำคัญที่ต้องมี

                หม้อแปลงแรงดัน (PT: Potential Transformer หรือ VT: Voltage Transformer) มีหน้าที่ปรับลดค่าแรงดันไฟฟ้าที่มาตามเสาไฟฟ้าและสายไฟฟ้าแรงสูงให้เป็นแรงดันไฟฟ้าที่มีค่าต่ำลง เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานตามสถานที่ต่าง ๆ เพราะแหล่งกำเนิดไฟฟ้าทุกแห่งไม่ได้ปล่อยกระแสไฟฟ้าที่มีแรงดันเท่ากันตลอด ด้วยเหตุผลที่ว่าการส่งกำลังไฟฟ้าไปในระยะทางไกลและมีประสิทธิภาพสูง จำเป็นต้องใช้แรงดันไฟฟ้าที่สูงมาก

ซึ่งโครงสร้างภายในของหม้อแปลงแรงดันจะไม่ต่างกับหม้อแปลงไฟฟ้าทั่วไป คือมีทั้งขดลวดปฐมภูมิ (Primary Winding) และขดลวดทุติยภูมิ (Secondary Winding) พันอยู่รอบแกนเหล็ก มีหลักการทำงานคืออาศัยการเหนี่ยวนำของขดลวดทั้งสองนั้น เพื่อแปลงแรงดันไฟฟ้าสูงทางด้านขดลวดปฐมภูมิให้มีแรงดันต่ำลงที่ทางด้านทุติยภูมิ

โดยปกติแล้วอัตราส่วนของด้านขดลวดปฐมภูมิจะมีขนาดมาตรฐานเท่ากับแรงดันของสายเมน เช่น 220V, 440V,  2200V เป็นต้น ส่วนด้านขวดลวดทุติยภูมิจะมีขนาดแรงดันไม่สูงมาก เช่น 110V, 220V, 380V เป็นต้น

เลือกหม้อแปลงแรงดันให้ได้ผลดี

            สำหรับการเลือกหม้อแปลงแรงดันมีเรื่องที่ต้องพิจารณาตามนี้

  • แรงดันที่ระบบไฟฟ้าในสถานที่นั้น ๆ รับได้ ซึ่งมีผลกับการเลือกขนาดของหม้อแปลง
  • เลือกอุปกรณ์หม้อแปลงที่ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
  • หากไม่มีความรู้ในเรื่องนี้หรือติดตั้งเองไม่ได้ ให้มองหาผู้เชี่ยวชาญและเลือกใช้บริการตั้งแต่ให้คำปรึกษา เลือก/ออกแบบอุปกรณ์ ตลอดจนการติดตั้ง อย่างบริษัท พรีไซซ อีเลคตริค แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (PEM) ที่ให้บริการด้านอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบครบวงจร พร้อมด้วยอุปกรณ์หม้อแปลงแรงดันที่ผ่านการออกแบบตามมาตรฐานไทยและสากล เช่น TIS, IEC, ANSI เป็นต้น การันตีด้วยการเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศมานานกว่า 30 ปี

มาถึงตรงนี้ ก็สามารถสรุปได้ง่าย ๆ ว่า หมอแปลงแรงดันคือผู้ช่วยสำคัญที่ทำหน้าที่สร้างสมดุลระหว่างแหล่งจ่ายไฟ กระแสไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้าของคุณ เพื่อให้การใช้ไฟฟ้าเป็นไปอย่างราบรื่น และไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงต่อชีวิตหรือทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัย ดังนั้นถ้าคุณกำลังวางแผนเรื่องกระแสไฟให้บ้านหรือธุรกิจของตัวเอง ต้องอย่าลืมติดตั้งหม้อแปลงนี้เข้าไปด้วย หรือติดต่อไปที่ https://preciseproducts.in.th