Industry Of The Future Industrial อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์


อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของไทยได้เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2456 โดยที่มีบริษัทแรกคือ บริษัทปูซีเมนต์ไทยซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะทำการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า และเพื่อให้มีอุตสาหกรรมที่ผลิตวัตถุดิบที่สำคัญในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง อุตสาหกรรมนี้อยู่ภายใต้การควบคลุมของรัฐบาลมาโดยตลอดนับตั้งแต่เริ่มต้น ดังนั้น นโยบายของรัฐบายจึงมีอิทธิพลอย่างมากต่อลักษณะโครงสร้างและการเจริญเติมโตของอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งโดยแท้จริงแล้วส่งปลกระทบไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง

ปูนซีเมนต์มีชื่อเต็มว่า ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีเทา ใช้เป็นส่วนสำคัญในการทำคอนกรีต จะทำหน้าที่เป็นตัวประสานที่ช่วยยึดหิน ทราย และเหล็กให้ติดแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน ถ้าไม่มีปูนซีเมนต์ยึดประสานไว้ หิน ทราย และ เหล็ก ก็อาจแตกแยกหลุดออกจากกันได้ง่าย ไม่สามารถคงรูปร่างของสิ่งก่อสร้างดังที่ต้องการ โดยคุณสมบัติพิเศษของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ได้แก่ การก่อตัวและแข็งตัวในน้ำได้ ดังนั้น เมื่อมีการผสมหิน ทราย ปูนซีเมนต์ และน้ำ คลุกเคล้าให้เข้ากันดี แล้วเทลงในแบบที่เตรียมไว้ ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วแกะแบบออกก็จะได้คอนกรีตที่มีรูปร่างเหมือนแบบ โดยประเภทของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ แบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้

  • ประเภทที่ 1 เหมาะสำหรับงานก่อสร้างทั่วไป ส่วนใหญ่จะนำไปใช้กับงานคอนกรีตเสริมเหล็ก เช่น ทำผิวถนน สะพาน ท่อระบายน้ำ เป็นต้น                
  • ประเภทที่ 2 ปูนซีเมนต์ประเภทนี้เมื่อผสมกับน้ำจะคายความร้อนออกมาน้อยกว่าประเภทธรรมดา และ มีความต้านทานต่อสารที่เป็นด่างได้บ้าง เหมาะสำหรับงานโครงสร้างขนาดใหญ่ อาทิเช่น ตอม่อขนาดใหญ่
  • ประเภทที่ 3 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทนี้มีความละเอียดมากกว่า เป็นผลทำให้แข็งตัวและรับแรง ได้เร็วกว่าปูนซีเมนต์ประเภทที่หนึ่ง จึงนิยมนำไปใช้กับงานเร่งด่วนที่ต้องแข่งกับเวลาหรือในกรณีที่ต้องการถอดหรือรื้อแบบเร็วกว่าปกติ
  • ประเภทที่ 4 เหมาะกับงานที่ต้องการควบคุมทั้งปริมาณและอัตราความร้อนที่เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด การเกิดกำลังของคอนกรีตที่มีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ประเภทนี้จะเป็นไปอย่างช้าๆ จึงนิยมใช้กับงานขนาดใหญ่ เช่น เขื่อนกั้นน้ำ
  • ประเภทที่ 5 มีคุณสมบัติในการต้านทานต่อสารที่เป็นด่างได้สูง จึงเหมาะที่จะใช้กับงานก่อสร้างในบริเวณที่ต้องสัมผัสกับด่าง ปูนซีเมนต์ประเภทนี้จะช้ากว่าประเภทอื่นๆ

วัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิต แบ่งออกเป็น 3 ชนิดใหญ่ๆ ดังนี้

                 1. วัตถุดิบที่มีส่วนประกอบของปูนขาว (Line Component) เป็นวัตถุดิบที่มีส่วนประกอบทางเคมี เป็นแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium Carbonate. CaCo3) ซึ่งมีความบริสุทธิ์ประมาณ 85 – 95 % ตัวอย่างวัตถุเหล่านี้ตามธรรมชาติ ได้แก่ หินปูน (Limestone) ชอล์ก (Chalk) และดินขาว (Marl)

                 2. วัตถุดิบที่มีส่วนประกอบของดินดำ (Clay) เป็นวัตถุดิบที่มีส่วนประกอบทางเคมีของซิลิคอนไดออกไซด์ (Silicon Dioxide, SiO2) อะลูมินัมออกไซด์ (Aluminum Oxide, Al2O3) และเฟอร์ริกออกไซด์

(Ferric Oxide, Fe2O3) ตัวอย่างวัตถุเหล่านี้ตามธรรมชาติ ได้แก่ ดินดำ (Clay) และดินดาน (Shale)

                 3.วัตถุดิบปรับแต่งคุณสมบัติ (Corrective Materials) เป็นวัตถุดิบที่ใช้สำหรับเพิ่มเติมสารประกอบบางตัว ซึ่งมีไม่เพียงพอในดินดำ หรือดินดาน วัตถุดิบเหล่านี้ได้แก่ ทราย (ในกรณีที่ต้องการซิลิคอนไดออกไซด์)

แร่เหล็กหรือดินลูกรัง (ในกรณีที่ต้องการเฟอร์ริกออกไซด์) และดินอะลูมินา (ในกรณีที่ต้องการอะลูมินัมออกไซด์) เป็นต้น